สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนามหญ้าเทียมแห่งแรก ของประเทศไทย

สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำนาน สนามฟุตบอล หญ้าเทียมแห่งแรก ของประเทศไทย

     ถ้าหากจะให้พูดถึง สนามฟุตบอล ระดับตำนาน ของวงการฟุตบอลไทย เชื่อว่าแฟนบอลจำนวนไม่น้อย น่าจะนึกถึงชื่อของ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างแน่นอน เพราะนอกจากจะเป็นอีกหนึ่งในสนามเก่าแก่แล้ว นี่ยังเป็นสังเวียนแข้ง ที่ใช้หญ้าเทียม เป็นแห่งแรกของประเทศไทย อีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำนาน สนามฟุตบอล หญ้าเทียม

     สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีชื่อเดิมว่า สนามกีฬาจุฬาเสถียร แต่แฟนบอลทั่วไป มักจะเรียกสั้นๆ ว่า สนามจุ๊บ ตั้งอยู่ขึ้นภายในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในระยะแรกถูกใช้เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ ก่อนจะมีการปรับปรุงโครงสร้าง และเริ่มต้นสร้าง สนามฟุตบอล ในช่วงปีพุทธศักราช 2510 จากนั้นมีการปรับปรุงอีกหลายครั้ง จนสามารถใช้การแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติได้ กระทั่งช่วงปีพุทธศักราช 2548 มีการเปลี่ยนมาใช้หญ้าเทียม เป็นพื้นสนามหลัก เพื่อความสะดวกสบายในการบำรุงรักษา สร้างความฮือฮาให้กับแฟนบอลเป็นอย่างมาก เพราะนี่ถือเป็น สนามฟุตบอล หญ้าเทียมแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบัน สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ภายใต้ความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีทัพลูกพระเกี้ยว จามจุรี ยูไนเต็ด เป็นผู้ใช้งาน สามารถจุแฟนบอลได้ราว 20,000 คน

สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุดพลิกผัน จากหญ้าจริง สู่ สนามฟุตบอล หญ้าเทียม

     เดิมที สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการใช้หญ้าจริงเป็นพื้นสนามหลัก เช่นเดียวกับ สนามฟุตบอล ทั่วไป แต่เนื่องจากการใช้งานที่หนักหน่วง ทั้งการจัดแข่งขันกีฬาฟุตบอล และกิจกรรมอื่นๆ ทำให้สภาพสนามเสื่อมโทรมลงมาก นั่นทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจัดการประชุมครั้งใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ก่อนจะตัดสินใจปรับปรุงพื้นสนามใหม่ทั้งหมด และจะเปลี่ยนมาใช้ หญ้าเทียม เพื่อความทนทาน และความสะดวกสบายในการดูแลรักษา ซึ่งมีการทุ่มงบประมาณสูงถึง 66.5 ล้านบาท ก่อนจะมีการเปิดใช้งาน สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะ สนามฟุตบอล หญ้าเทียม แห่งแรกของประเทศไทย ในช่วงปลายปีพุทธศักราช 2548 สร้างความฮือฮาให้กับแฟนบอลภายในประเทศเป็นอย่างมาก เพราะนี่ถือเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งในระยะแรกถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกซ้อมของ ทีมชาติไทย ในยามที่จะต้องลงแข่งขันในสนามหญ้าเทียม แถมยังกลายเป็นต้นแบบในการก่อสร้างของ สนามฟุตบอล ลีโอ สเตเดี้ยม สังเวียนของ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด ที่มีการใช้หญ้าเทียมเป็นพื้นสนามหลักเช่นเดียวกัน 

     แม้ว่า ณ ปัจจุบัน สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่ได้ถูกใช้ในการจัดแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ แต่ก็ต้องยอมรับว่า สนามฟุตบอล แห่งนี้ ยังคงเป็นอีกหนึ่งสังเวียนแข้งระดับท็อป และยังมักถูกพูดถึงเป็นประจำในการจัดแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุฬา ธรรมศาสตร์ นั่นเอง

 

 

สล็อต วอเลทไม่มีขั้นต่ํา