สิงห์ สเตเดี้ยม สังเวียนแข้งของทัพกว่างโซ้งมหาภัย สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด

สนามฟุตบอล สิงห์ สเตเดี้ยม สังเวียนแข้งของทัพกว่างโซ้งมหาภัย สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด

สิงห์สเตเดียม

ถ้าหากจะพูดถึง สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด สโมสรยักษ์ใหญ่แห่งเวทีโตโยต้า ไทยลีก เชื่อว่าแฟนบอลจำนวนมาก น่าจะนึกถึงมหาอำนาจของวงการฟุตบอลไทย ทางภาคเหนือ เพราะพวกเขาถือเป็นราชาของฟุตบอลถ้วย อย่างแท้จริง แถมยังเคยผงาดคว้าแชมป์ลีกสูงสุด มาครองได้แล้วด้วย แต่นอกจากความสำเร็จในแง่ของถ้วยรางวัลแล้ว พวกเขายังมี สนามฟุตบอล ที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย นั่นก็คือ สนามฟุตบอล สิงห์ สเตเดี้ยม นั่นเอง และวันนี้เราจะขอพาแฟนทุกท่าน ไปทำความรู้จักกับ สนามฟุตบอล แห่งนี้ ให้มากยิ่งขึ้น

ประวัติความเป็นมาของ สนามฟุตบอล สิงห์ สเตเดี้ยม

สนามฟุตบอล สิงห์ สเตเดี้ยม มีชื่อเดิมว่า สนามฟุตบอล ยูไนเต็ด สเตเดี้ยม ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ใกล้กับสนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เริ่มต้นก่อสร้างในช่วงปีพุทธศักราช 2553 ก่อนจะมีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 7 กรกฎาคม ปีพุทธศักราช 2555 ซึ่งในระยะแรก ถูกใช้ชื่อว่า ยูไนเต็ด สเตเดี้ยม ถือเป็น สนามฟุตบอลไทยลีก ที่ไม่มีลู่วิ่งขวางระหว่างตัว สนามฟุตบอล และ อัฒจันทร์ ทำให้แฟนบอลได้สัมผัสกับการรับชมการแข่งขันฟุตบอลแบบเต็มอิ่ม ได้อรรถรสมากมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สนามฟุตบอล ยูไนเต็ด สเตเดี้ยม กลับได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก จากเรื่องของพื้นสนามที่นูนเป็นหลังเต่า เรื่องของระบบการจัดการภายในสนาม รวมถึงเรื่องของการระบายน้ำขัง ยามที่เกิดฝนตกหนัก ซึ่งบอร์ดบริหารระดับสูงของทัพกว่างโซ้งมหาภัย สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ก็พยายามอย่างเต็มที่ ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนได้รับเสียงชื่นชมจากทั่วทุกสารทิศ แถมยังได้รับการยกย่องให้เป็น สนามฟุตบอลไทย ที่ดีที่สุดของภาคเหนือ อีกด้วย ในปัจจุบัน สนามฟุตบอล สิงห์ สเตเดี้ยม เป็นสนามเหย้าของ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด และอยู่ภายใต้ความดูแลของสโมสรฟุตบอล สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด สามารถจุแฟนบอลได้ราว 11,350 ที่นั่ง 

สนามฟุตบอล สิงห์ สเตเดี้ยม กับความเป็นมืออาชีพที่มากยิ่งขึ้น

อย่างที่เราได้บอกไปแล้วในตอนต้น ว่า สนามฟุตบอล ยูไนเต็ด สเตเดี้ยม ( ชื่อเดิมของ สิงห์ สเตเดี้ยม ) ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ในหลากหลายประเด็น ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นในช่วงปลายปีพุทธศักราช 2559 ซึ่งถือเป็นความเปลี่ยนแปลง ที่ทำให้ สนามฟุตบอลไทย แห่งนี้ มีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น ภายใต้การบริหารงานของ บิ๊กฮั่น มิตติ ติยะไพรัช ประธานบอร์ดบริหารของสโมสร ณ เวลานั้น เริ่มจากการดำเนินการก่อสร้างภายในเพิ่มเติม ตกแต่งห้องต่างๆ บริเวณใต้อัฒจันทร์ ไม่ว่าจะเป็น ห้องแต่งตัวทีมเหย้า-ทีมเยือน , ห้องแถลงข่าว , ห้องพักผู้สื่อข่าว , ห้องสุขา , การติดตั้งเก้าอี้ และการก่อสร้างหลังคาบนอัฒจันทร์ฝั่งเหนือ และ อัฒจันทร์ฝั่งใต้ ซึ่งทั้งสองอัฒจันทร์นี้ ถือเป็นอัฒจันทร์หลักของสนามฟุตบอล ที่มีความจุมากที่สุด มีแฟนบอลเดินทางเข้ามาชมเกมการแข่งขันมากที่สุด พร้อมทั้งพัฒนาระบบการระบายน้ำ ยามเกิดฝนตกหนักใหม่ทั้งระบบ โดยเปลี่ยนไปใช้ระบบระบายน้ำแบบก้างปลา เพื่อให้สามารถระบายน้ำขังได้ดียิ่งขึ้น ส่วนเรื่องของพื้นสนามที่นูนเป็นลักษณะคล้ายกับหลังเต่า ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ก็ได้ทำการรื้อใหม่ทั้งหมด พร้อมเลือกใช้หญ้าสายพันธุ์เบอร์มิวดา ซึ่งเป็นหญ้าเกรดที่ใช้สำหรับการแข่งขันฟุตบอลโดยเฉพาะ เพื่อให้ สนามฟุตบอล แห่งนี้ กลายเป็น สนามฟุตบอลไทยลีก ที่ได้มาตรฐาน คลับ ไลเซนซิ่ง ก่อนจะแล้วเสร็จ ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช 2560 ซึ่งทางด้านของทัพกว่างโซ้งมหาภัย ก็ได้ฉลองความสำเร็จในครั้งนี้ ด้วยการเปลี่ยนชื่อสนามใหม่ จาก สนามฟุตบอล ยูไนเต็ด สเตเดี้ยม มาเป็น สนามฟุตบอล สิงห์ สเตเดี้ยม นับเป็นการตั้งชื่อสนามใหม่ ตามชื่อของผู้สนับสนุนหลักของสโมสร นั่นก็คือ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด นั่นเอง 

ต้องยอมรับเลยว่า สนามฟุตบอล สิงห์ สเตเดี้ยม รังเหย้าของทัพกว่างโซ้งมหาภัย สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ถือเป็นหนึ่งในสนามฟุตบอลที่มีคุณภาพ และมีความยิ่งใหญ่เป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากแฟนบอลเดินทางเข้ามาชมเกมการแข่งขันจนเต็มความจุของสนาม ก็จะสามารถเห็นทะเลเพลิงสีส้ม จากระยะไกลได้อย่างชัดเจน นับเป็นอีกหนึ่ง สนามฟุตบอลไทย ที่เป็นนรกของทีมเยือนอย่างแท้จริง และคำกล่าวที่ว่า สิงห์ สเตเดี้ยม คือ สนามฟุตบอล ที่ดีที่สุดของภาคเหนือ ก็ไม่ใช่เรื่องเกินจริงอย่างแน่นอน เพราะนี่ถือเป็น สนามฟุตบอล ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง 

 

 

ทางเข้าจีคลับ