สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน สังเวียนแข้งสุดเก่าแก่ ของทัพดาบคู่ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด

สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน สังเวียนแข้งสุดเก่าแก่ ของทัพดาบคู่ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด 

ชื่อของพลพรรคดาบคู่ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด น่าจะเป็นที่คุ้นหูเหล่าแฟนบอลในบ้านเราอยู่พอสมควร เนื่องจากในฤดูกาล 2019-2020 ที่ผ่านมา พวกเขาสามารถทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม จนเกือบที่จะคว้าตั๋วไปลุยศึกฟุตบอลถ้วยสโมสรยุโรป ได้สำเร็จ แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ทีมน้องใหม่ วันนี้เราจึงอยากพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน สังเวียนแข้งสุดเก่าแก่ ของทัพดาบคู่ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด กันให้มากยิ่งขึ้น

 

Bramall-lane-stadium

 

ประวัติความเป็นมาของ สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน 

สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน ตั้งอยู่บริเวณย่านบรามอลล์เลน เขตมหานครเชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ เริ่มต้นก่อสร้างในปีคริสตศักราช 1855 ดำเนินการออกแบบโครงสร้างทั้งภายใน และภายนอกสนาม รวมถึงก่อสร้างโดย จอห์น เซนต์ สแตนด์ บริษัทสถาปนิกชื่อดัง ก่อนจะมีการเปิดใช้งานสนาม บรามอลล์เลน ในการแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนเมษายน ปีคริสตศักราช 1855 นับเป็น สนามฟุตบอลอังกฤษ ที่มีความเก่าแก่เป็นอย่างมาก เพราะว่า สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน ถือเป็นสนามฟุตบอล ที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก ที่ยังคงมีการเปิดใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เป็นรองเพียงแค่ สนามฟุตบอล ฟีลล์มิลล์ รังเหย้าของแมนส์ฟีลด์ ทาวน์ เพียงแค่สนามเดียวเท่านั้น ในระยะแรก สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน ถูกใช้เป็นรังเหย้าของสโมสรยอร์คเชียร์ เทรเบิลซี ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 1855-1893 ซึ่งในช่วงปีคริสตศักราช 1889 สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน ถูกแบ่งให้กับทัพดาบคู่ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด เช่าใช้งานด้วยเช่นกัน ก่อนที่ในช่วงปีคริสตศักราช 1893 สโมสรยอร์คเชียร์ เทรเบิลซี จะเลิกใช้สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน อย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน อยู่ภายใต้การดูแลของสโมสรเชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด และถือเป็นทรัพย์สินของสโมสรเป็นการถาวร มีความยาว 112 เมตร ความกว้าง 72 เมตร สามารถจุแฟนบอลได้ประมาณ 32,702 ที่นั่ง 

 

Bramall-lane-stadium-1

 

สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน สังเวียนแข้งสุดเก่าแก่ ที่ยังคงมีการใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน ถูกตั้งชื่อตามตระกูล บรามอลล์ ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่ในเขตมหานครเชฟฟิลด์ และด้วยความที่ สนามฟุตบอล แห่งนี้ เป็น สนามฟุตบอลอังกฤษ ที่มีความเก่าแก่เป็นอย่างมาก เพราะถูกใช้งานมาตั้งแต่ปีคริสตศักราช 1855 มันจึงผ่านการปรับปรุงสภาพสนาม มามากถึง 8 ครั้งเลยทีเดียว เพื่อให้ยังคงสามารถใช้ในการแข่งขันฟุตบอลได้ตามปกติ ซึ่งรายละเอียดในการปรับปรุงสภาพสนามฟุตบอล บรามอลล์เลน ในแต่ละครั้ง มีดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในช่วงปีคริสตศักราช 1966 ก่อสร้างอัฒจันทร์หลัก ก่อนจะใช้ชื่อว่าอัฒจันทร์บรามอลล์เลน

ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในช่วงปีคริสตศักราช 1975 ก่อสร้างอัฒจันทร์ทิศใต้ 

ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในช่วงปีคริสตศักราช 1991 ก่อสร้างอัฒจันทร์ทิศตะวันออก ก่อนจะใช้ชื่อว่าอัฒจัทร์เดอะ ค็อป

ครั้งที่ 4 เกิดขึ้นในช่วงปีคริสตศักราช 1994 ติดตั้งเก้าอี้ใหม่ทั่วทั้งสนามฟุตบอล

ครั้งที่ 5 เกิดขึ้นในช่วงปีคริสตศักราช 1996 ปรับปรุงอัฒจันทร์จอห์น สตรีท ที่ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือ

ครั้งที่ 6 เกิดขึ้นในช่วงปีคริสตศักราช 2001 สร้างมุมบริเวณอัฒจันทร์เดอะค็อป และ อัฒจันทร์จอห์น สตรีท

ครั้งที่ 7เกิดขึ้นในช่วง ปีคริสตศักราช 2006 ปรับปรุงอัฒจันทร์หลัก หรืออัฒจันทร์บรามอลล์เลน 

ครั้งที่ 8 เกิดขึ้นในช่วงปีคริสตศักราช 2006 สร้างมุมบริเวณอัฒจันทร์บรามอลล์เลน และ อัฒจันทร์ทิศใต้ ก่อนจะใช้ชื่อว่าอัฒจันทร์เวสต์ ฟิลด์ เฮลท์ 

จะเห็นได้ว่าการปรับปรุง สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน เกือบทั้งหมด ล้วนเป็นการก่อสร้างใหม่ทั้งสิ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแฟนบอล ที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแฟนบอลของทัพดาบคู่ ได้รับการยกย่องว่าเป็นแฟนบอลที่มีความสุดยอดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในฤดูกาล 2019-2020 พวกเขาได้เข้ามาสนับสนุนทีมรักถึงขอบสนาม จนฟอร์มการเล่นเป็นไปอย่างยอดเยี่ยม ถึงขั้นเกือบที่จะคว้าตั๋วไปลุยศึกฟุตบอลถ้วยสโมสรยุโรป ได้สำเร็จ เลยทีเดียว

 

Bramall-lane-stadium-2

 

ผลงานในระยะหลังของพลพรรคดาบคู่ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ไม่ดีเท่าไรนัก หลังพวกเขากำลังอยู่ในโซนท้ายตารางคะแนนพรีเมียร์ลีก ในเวลานี้ สวนทางกับฟอร์มการเล่นในฤดูกาล 2019-2020 ที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะการที่ สนามฟุตบอล บรามอลล์เลน ของพวกเขา ปราศจากแฟนบอลเข้ามาชมเกมในสนาม จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เชื่อว่าหากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติเมื่อไร ฟอร์มการเล่นของพวกเขาจะต้องกลับมายอดเยี่ยมอีกครั้ง อย่างแน่นอน

 

 

สนับสนุนโดย sa-game.bet / pgcandy.com